DIY Skincare ในนี้ส่วนมากเลยจะเน้นเรื่องสบู่เป็นพิเศษ
ปล. ต้องออกตัวก่อนว่า เดียร์ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสบู่นะคะ เดียร์เขียนจากข้อมูลที่ search เจอบ้าง ไปเรียนบ้าง ถามจากผู้เชี่ยวชาญบ้าง และเดียร์เองได้ลองทำดูเองบ้างเล็กน้อยพอเป็นประสบการณ์ ดังนั้น หากมีจุดไหนที่เดียร์เข้าใจผิด เดียร์ฝากแจ้งเดียร์ เพื่อนำมาแก้ไขด้วนนะคะ ....ขอบคุณมาก ณ ที่นี้ค่ะ
ก่อนอื่น...เรามาทำความรู้จักคำว่า "สบู่" กันก่อนนะคะ
สมัย โบราณเค้าจะเอาน้ำมันมากวนกับน้ำขี้เถ้า ทิ้งไว้ซักระยะก็จะได้ก้อนแข็งๆออกมาก้อนหนึ่ง เอาไปใช้ทำความสะอาดร่างกายได้ ... นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็เขียนสมการของกระบวนการอันนี้ตามภาษาบ้านๆออกมา เป็น
น้ำมัน + โซดาไฟ (น้ำขี้เถ้าแหละ) = สบู่ + กลีเซอรีน
ดังนั้น "สบู่" ในที่นี้ ก็น่าจะหมายถึงสารที่มีคุณสมบัติในการชำระล้างสิ่งสกปรก ส่วนกลีเซอรีนก็คือสารที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ทำให้สบู่ที่กวนจากกระบวนการตามธรรมชาตินี้ ไม่จำเป็นต้องไปสรรหาอะไรมาใส่เพิ่มเติมก็ได้ ..แค่กระบวนการปกติของมันก็สามารถบำรุงผิวได้อยู่แล่ว (จริงมะ??)
แต่ๆๆๆๆ เห็นสมการง่ายๆอย่างนี้ การทำสบู่ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดนะ...อิอิ
เอ... มันก็ไม่น่ายากนี่น่า... ทำไมสบู่มันถึงมีอะไรให้เรียนรู้เยอะล่ะ
ถามง่ายๆเลย... ถ้าอยากทำสบู่ดีๆซักก้อนนึง เราจะเอาน้ำมันอะไรมากวนสบู่ดีล่ะ ??
อึ้งไปเลย ... 555
ขนาดเดินไปในซุปเปอร์ จะเลือกน้ำมันมาทอดหมูยังมีน้ำมันตั้งไม่รู้กี่แบบ คราวนี้ให้เลือกมาทำสบู่จะเอาน้ำมันอะไรดีละนี่ย ??
เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ เดียร์ขอแบ่งปัจจัยหลักที่มีผลต่อคุณภาพของสบู่ออกเป็น 2 เรื่องละกันเนอะ
1. ชนิดของน้ำมันที่จะนำมาใช้
เห็น สบู่ก้อนเล็กๆแค่นิดเดียวเนี่ย จะบอกว่าคนใช้ก็ต้องการอะไรจากมันเยอะนะ ...ฟองต้องเยอะมั่งละ เนื้อต้องแข็ง ไม่ยุ่ยน้ำ อาบแล้วต้องไม่ให้ผิวแห้งตึง แต่เอาแบบล้างออกง่ายๆนะ ล้างออกยากไม่เอา บลาๆๆๆ ~~~
ทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นผลมาจากคุณสมบัติของ "น้ำมัน" นั่นแหละ
น้ำมัน ในโลกนี่ก็มีไม่รู้กี่ 10 แบบ ทั้งจากสัตว์ จากเมล็ดพืช จากดอกไม้ ฯลฯ อีกมากมาย แต่ละตัวก็จะมีค่าต่างกัน เช่น น้ำมันมะพร้าวให้ฟอง แต่ทำให้ผิวแห้ง, น้ำมันรำข้าวให้วิตามิน E บำรุงผิว แต่ไม่มีฟอง เป็นต้น
ดัง นั้น ในการกวนสยู่แต่ละครั้ง เราก็ต้องรู้ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันพอสมควรทีเดียว จะได้มั่นใจได้ว่าสบู่ที่เราจะกวนให้ผลตามแบบที่เราต้องการจริงๆ
ทีนี้ ถามว่า..ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวสำหรับสบู่ที่ดีที่สุดหรอ ??
จะขอตอบว่าามันก็มีสบู่สูตรมาตรฐานที่ใช้ได้ทั่วๆไป แหละ แบบไม่ต้องคิดมาก ...
แต่ ถ้าเอาให้เวอร์หน่อย (แต่ดีจริงๆ) สุดยอดสบู่มันก็ต้องดูสภาพผิว ความชอบ แล้วก็อาจจะต้องพ่วงที่สภาพอากาศตอนที่จะใช้ด้วย จริงมะ ?? หน้าหนาวก็ใช้แบบที่บำรุงผิวหน่อย แต่หน้าร้อนก็ใช้แบบที่สะอาดๆหน่อยเป็นต้น (^^)
2. ปริมาณของโซดาไฟ
ในการทำสบู่นี่ ฝรั่งเค้าเรียกกระบวนการที่น้ำมันกับโซดาไฟทำปฏิกิริยากันว่า Saponification หรือ Saponify ซึ่งสบู่จะทำมาใช้ได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการนี้เสร็จสิ้นแล้ว แต่โดยปกติเค้าจะไม่ให้มันทำปฏิกิริยากันแบบสมบูรณ์ 100% ซะทีเดียวแต่จะให้เหลือน้ำมันส่วนเกินเล็กน้อย เพื่อให้นำมันนั้นบำรุงผิวไปในตัว เรียกว่า superfat ซึ่งโดยปกติจะ superfat กันอยู่ที่ 5%-8%
ประเด็นที่เราต้องระวังในการใส่โซดาไฟ คือ
2.1 ปริมาณโซดาไฟในการ saponify กับน้ำมันแต่ละชนิด ไม่เท่ากัน หมายความวาา ถ้าเปลี่ยนน้ำมันเมื่อไหร่ ปริมาณโซดาไฟต้องเปลี่ยนตามไปด้วย
2.2 อย่าลืม Superfat เพราะ้ถ้า superfat น้อยเกินไป จะเกิดโซดาไฟส่วนเกินซึ่งอาจจะระคายเคืองต่อผิวได้ หรือในทางกลับกัน ถ้าโซดาไฟน้อยเกินไป จะเกิดน้ำมันส่วนเกินซึ่งจะทำให้สบู่เหม็นหืนได้ง่าย หรือสบู่นิ่มเป็นต้น
ทั้ง 2 ปัจจัยข้างต้น เป็นแค่ปัจจัยหลักที่มีผลโดยตรงนะ แต่นอกนั้นจะมีปัจจัยอื่น เช่น อุณหภูมิขิงโซดาไฟและน้ำมันตอนที่ผสมกัน ความชื้นในอากาศขณะนั้น หรือกระทั่งระยะเวลาที่ทิ้งไว้ตั้งแต่กวนสบู่เสร็จ จนกระทั่งนำมาใช้ (ปกติต้องทิ้งไว้หลังจากกวนเสร็จแล้วเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน จึงจะแน่ใจได้ว่าไม่เกิดอันตรายกับผิว)
เห็นมะ ?? ว่าการทำสบู่เนี่ย มันมีอะไรให้เรียนรู้เยอะเหมือนกันนิ
หมดเรื่องราวของ "สบู่" แต่เพียงเท่านี้ แต่ว่าอยากแถมเรื่องสบู่เหลวนิดนึงดีกว่า
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ "สบู่เหลว" ในปัจจุบันกันซักเล็กน้อยนะคะ
เนื่องจากนิยามของ "สบู่" ที่เขียนมาข้างต้นแล้วเนี่ย ก็จะพบว่า เราจะเรียกว่า "สบู่" ได้ก็ต่อเมื่อเกิดปฏิกิริยาระหว่าง น้ำมันกับโซดาไฟ แต่ว่าถ้าเราไปพลิกดูส่วนผสมของสบู่เหลวในปัจจุบันแล้วเนี่ย แทบจะไม่มียี่ห้อไหนเลยที่เกิดจากปฏิกิริยาดังกล่าว เลยมีคนบอกเอาไว้ว่า สบู่เหลวในปัจจุบัน เป็น "สบู่เหลวเทียม" ซะมากกว่า
สบู่เหลวเทียม คืออะไร ?
เอาจริงๆมันก็คือของเหลวอย่างนึงที่เอามาทำความสะอาดร่างกายได้แหละ โดยมีส่วนประกอบหลักคือสารชำระล้าง หรือว่าสารที่ทำให้เกิดฟอง ซึ่งเป็นสารประเภทเดียวกับผงซักฟอก หรือสารอื่นๆที่ทำให้มีฟอง ...และเจ้าตัวนี้แหละที่ทำให้หลายคน ไม่ชอบใจอยู่ลึกๆ
ถ้าให้พูดเรื่องสารชำระล้างนี่ยาว (แอบข้อมูลไม่ปึ๊กด้วย) แต่เอาง่ายๆก็คือว่า สารกลุ่มนี้ประเภทหนึ่งที่เรียกกันว่า SLS หรือ SLES เคยมีประเด็นว่าอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ทำให้เกิดกระแสกันอยู่พักนึง แต่สุดท้ายสำหรับประเทศไทย อย. ก็แจ้งออกมาว่าไม่เป็นไร (ถ้าจำไม่ผิด เพราะว่าสารพวกนี้จะเป็นอันตรายเมื่อใช้ในปริมาณที่เข้มข้น และต้องอยู่บนผิวหนังนานมากๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เราไม่ได้อาบน้กันนานขนาดนั้น)
จริงๆแล้วนอกจาก SLS, SLES ยังมีสารชำระล้างประเภทอื่นๆที่มีเอามาใช้เหมือนกัน แต่พวกนี้มักจะราคาแพงและฟองน้อยกว่า ผู้ผลิต mass ส่วนใหญ่จึงไม่นิยม (ส่วนมากสบู่ยาจะใช้)
สรุปก็คือว่า ต่อให้เป็นสบู่เหลวเทียม ก็ใช้ได้ ไม่มีปัญหา เพียงแต่ว่าคนที่ผิวแพ้ง่ายมากๆ ก็จะมีโอกาสระคายเคืองได้ง่ายตามไปด้วยเท่านั้นเอง
No comments:
Post a Comment